โรงเรียนอนุบาล จีเนียส คิดส์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นนทบุรี
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลจีเนียสคิดส์ เป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่อายุ 3-6 ปี ด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็ก โดยจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยองค์รวมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา อย่างสมดุลต่อเนื่องพร้อมกันทุกด้าน
โรงเรียนอนุบาลจีเนียสคิดส์ จัดการศึกษาให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุขตามสมรรถนะ บนพื้นฐานความเป็นไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยครูผู้นำทางวิชาการ ในโลกแห่งการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด (Metaverse) ภาคใต้การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในยุค Next Normal ภายในปี 2569
ภารกิจหลักของโรงเรียนอนุบาลจีเนียสคิด มีเป็นข้อๆดังต่อไปนี้
(1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย โดยยึดพัฒนาการเด็กตามวัย
(2) ส่งเสริมให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม อนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(3) พัฒนาเด็กให้มีความเหมาะสม สมดุลระหว่างความต้องการของเด็ก ผู้ปกครองบนมาตรฐานความถูกต้อง และทันสมัยทางวิชาการตามบริบทของสังคมไทย
(4) จัดประสบการณ์โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ความต้องการและความสนใจที่ต่างกันเพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
(5) จัดประสบการณ์แบบบูรณการเพื่อพัฒนาเด็กแบบองค์รวม บูรณการผ่าน 6 กิจกรรมหลัก บูรณการในหน่วยการเรียนรู้ บูรณการในรูปแบบโครงการ (Project Approach) การจัดการเรียนรูปตามแนวคิดไฮสโคป(HighScope) บูรณการในโครงการแผนปฏิบัติงานประจำปี และการทำกิจวัตรประจำวัน
(6) จัดให้ผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดและการการตัดสินใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของการจัดประสบการณ์อย่างเหมาะสม
(7) จัดประสบการณ์ให้เด็กโดยเน้นกระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ วิเคราะห์ แก้ปัญหา และมีทักษะในการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างมีความสุข ผ่านการจัดประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย
8) จัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศ แหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียน และนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้และการพัฒนาเด็ก
(9) ใช้แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก
(10) จัดให้มีและใช้สื่อ อุปกรณ์ นวัตกรรมเทคโนโลยีที่หลากหลายและเหมาะสมในการจัดกิจกรรมพัฒนาเด็ก
(11) จัดการเรียนรู้โดยให้ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและประเมินพัฒนาการเด็ก
(12) จัดการประเมินพัฒนาการตามสภาพจริง การใช้แฟ้มสะสมผลงาน และการสังเกตจากการปฏิบัติจริง
(13) พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะเจตคติที่ดีในการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้องเหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก
(14) พัฒนาการบริหารจัดการและระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาเด็ก
(15) ส่งเสริมให้ครูทำงานวิจัยในชั้นเรียน และติดตามผลการพัฒนาเด็ก
(16) ดำเนินการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง